เมื่อเราใช้งานคอมพิวเตอร์ไปนานๆแล้ว ก็จะเริ่มมีสิ่งสกปรกหรือฝุ่นผงเข้ามาเกาะที่แผงวงจรของเครื่องเราทำให้คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่นั้นเกิดความขัดข่องและผิดปกติต่างๆได้ เราสามารถแก้ปัญหาเบื่องต้นต่างๆเองได้โดยไม่ต้องเสียตังด้วยวิธีง่ายๆที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
แผงวงจรสกปรก ได้อย่างไร
แผงวงจร (Circuit boards) สามารถพบได้ในอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท หนึ่งในนั้นคือคอมพิวเตอร์เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ก็จะมีละอองฝุ่นผง คราบน้ำหรือสิ่งสกปรกก่อตัวขึ้นในแผงวงจรของเราได้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของเราเราควรที่จะทำความสะอาดเพื่อให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น นี่ไม่ใช่แค่สาเหตุเดียวเท่านั้น ยังมีอีกอย่างนึงที่ทำให้สิ่งสกปรกเข้ามาได้นั่นก็คือพัดลมละบ่ายความร้อนซึ่งพัดลมที่ติดอยู่ในเครื่องอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์คอยทำหน้าที่รักษาระดับอุณหภูมิเพื่อไม่ให้ตัว CPU หรือ แผงวงจรนั้นร้อนจนเกิดไป แต่จะทำให้ตัวพัดลมนั้นดูดฝุ่นผงที่ลอยอยู่ในอากาศเข้ามาในแผงวงจรของเราได้ นี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์ของเรานั้นร้อนจนเกินไป และอีกอย่างนึงที่ทุกคนก็รู้ดีกันอยู่แล้วก็คือของเหลวที่เป็นตัวสร้างปฏิกิริยากับอุปกรณ์ที่กำลังทำงานอยู่ หรือกำลังมีกระแสไฟฟ้าเดินทางอยู่ ถ้าหากของเหลวใด ๆ เช่น น้ำเปล่า สามารถเล็ดรอดเข้าไปยังแผงวงจรได้ ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) ขึ้นมาได้ และมีโอกาสสูง ที่อุปกรณ์จะเสียหายตามมา
ภาพจาก https://pcbthailand.com/การซ่อมแผงวงจร.html
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ แผงวงจร
เราควรที่จะพึงระวังไว้เสมอว่า การถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ ดังนั้น โปรดแน่ใจว่าตัวคุณเองมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะจัดการกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง และสามารถประกอบกลับคืนเข้าไปให้สามารถใช้งานตามปกติได้ด้วย
- เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับแผงวงจร อย่าลืมปรับตำแหน่งสวิทช์ไว้ที่ “ตำแหน่ง OFF” เสมอ ก่อนกระทำการใด ๆ กับแผงวงจร
- หากมีน้ำหรือของเหลวเข้าไปในแผงวงจร ให้เป่าแห้ง หรือทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนนำมาเปิดหรือใช้งานต่อ
- ตัดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์นั้น ๆ ออกจากแหล่งไฟฟ้าทุกครั้งก่อนกระทำการใด ๆ
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผงวงจรอยู่ใกล้น้ำ, ความชื้น, หรือของเหลวอื่น ๆ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิทเสมอ ก่อนใช้งาน หรือดัดแปลง / แก้ไขแผงวงจร
ภาพจาก https://www.istockphoto.com/th/รูปถ่าย/แผงวงจรซ่อม-gm1313466617-401958630
เครื่องมือสำหรับทำความสะอาด แผงวงจร
การทำความสะอาดแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards) หรือที่นิยมเรียกกันว่า แผ่น PCB, แผ่นปรินท์ จะต้องใช้เครื่องมือและวิธีที่ถูกต้องในการทำความสะอาด ไม่สามารถใช้น้ำทั่วไป, หรือสารทำความสะอาดที่ใช้กันโดยทั่วไปมาทำความสะอาดได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้กันหลัก ๆ ได้แก่
เบคกิ้งโซดา
เบคกิ้งโซดา หรือชื่อทางเคมีว่า โซเดียม ไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) เป็นอีกทางเลือกสำหรับการขจัดสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนบอร์ดโดยมีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับบอร์ดของเรา โดยเบคกิ้งโซดา มีฤทธิ์กัดกร่อนอ่อน ๆ ที่สามารถขจัดคราบหรือสารตกค้างที่ไม่สามารถเอาออกด้วยแปรงหรือน้ำกลั่นได้ มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งสำหรับจัดการกับปัญหาการกัดกร่อนที่มาจากกรด หรือสารอื่น ๆ ที่เป็นกรด เพราะเบคกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับสมดุลบริเวณที่เกิดปัญหาขึ้นได้
ภาพจาก https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/food-news/dont-have-baking-soda-use-these-6-substitutes-that-show-better-results/photostory/69826939.cms
น้ำกลั่นหรือน้ำปราศจากไอออน
น้ำกลั่น ถือเป็นของเหลวที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดแผงวงจรได้เมื่อถูกผสมเข้ากับสารทำความสะอาดอื่น ๆ เนื่องจากน้ำกลั่นนั้นไม่นำประจุไฟฟ้า นอกจากนี้ น้ำกลั่นบริสุทธิ์ยังไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสื่อมลง เพราะความเป็นตัวนำไฟฟ้าต่ำนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากคราบสกปรกที่ติดอยู่กับมือของเรา หรือจากฝุ่นที่ฟุ้งกระจายในอากาศ อย่าลืมปิดฝาน้ำกลั่นทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมือเปล่าโดยตรง
ภาพจาก https://www.talming.top/products.aspx?cname=distilled+water+bottle&cid=80&url=
แปรงขนนุ่ม
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับทำความสะอาดแผงวงจร โดยทั่วไปแล้ว หากไม่ได้มีคราบหนัก หรือความสกปรกที่เกรอะกรัง ก็สามารถใช้เพียงแปรงปัดฝุ่นที่มีขนนิ่ม และมีขนาดเล็กเพียงพอที่จะสามารถเข้าซอกซอนซอกเล็ก ๆ บนแผงวงจรได้ และใช้ผ้าแห้งที่ไม่เป็นขุย เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไปบนแผงวงจรได้เลย
ภาพจาก https://www.chorkoon.com/th/product/930969/product-930969
ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์
สเปรย์ลมไล่ฝุ่น
สเปรย์ลม กําจัดฝุ่น (Dust Remover Spray) ทําความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ฉีดเพื่อทําความสะอาด กําจัดฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก หรือตามซอกมุม สามารถใช้ได้กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด กล้องถ่ายรูป เครื่องล้างรูป เครื่องเล่น DVD VCD เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพริ้นท์เตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรโรงงาน ฯลฯ
ภาพจาก https://www.quickmarketing.co.th/content/66365/how-to-clean-filters
ขั้นตอนการทำความสะอาด แผงวงจร
- สร้างสารทำความสะอาดด้วยการผสมเบคกิ้งโซดา 1 / 4 ถ้วยตวง กับน้ำ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ คนจนส่วนผสมมีความแน่นหนาเป็นเนื้อเดียวกัน
- ถ่ายรูป หรือจดโน้ตรายละเอียดตำแหน่งและการประกอบแผงวงจร เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบกลับเข้าไปอีกครั้งเมื่อทำความสะอาดเสร็จสิ้น
- ถอดสายต่าง ๆ ออกให้หมด และจัดการดึงชิปที่อยู่บนบอร์ดออก
- จุ่มแปรงลงไปในสารทำความสะอาดที่เตรียมไว้ และแปรงลงไปอย่างระมัดระวังในบริเวณที่เกิดการกัดกร่อน
- เมื่อทาสารทำความสะอาดลงไปแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 – 30 นาที เพื่อให้แห้งไปกับตัวแผง
- ล้างแผงวงจรด้วยน้ำกลั่นจนกว่าจะแน่ใจว่าตัวสารทำความสะอาดนั้นหลุดออกไปจากแผงจนหมดแล้ว โดยสามารถนำแปรงอันใหม่มาขัดอีกรอบได้หากไม่แน่ใจ
- ใช้สารทำความสะอาดที่ปราศจากฟอสเฟต ฉีดพ่นลงไปบนแผงวงจรให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
- ขัดแผงวงจรอย่างเบามืออีกครั้งด้วยแปรงสีฟัน ล้างออกด้วยน้ำกลั่น แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าที่ไม่เป็นขุย โดยเน้นการเช็ดแบบตบออกเบา ๆ ทีละจุด แทนการเช็ดแบบลากผ้า เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวแผงวงจร
- ประกอบแผงวงจรกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง และลองทดสอบดูว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
ถ้าหากว่าสุดท้ายแล้ว แผงวงจรของเรายังคงไม่สามารถใช้งานได้ และยังมีร่องรอยของการกัดกร่อนหลงเหลืออยู่ ให้ลองใช้ยางลบเพื่อลบคราบที่เหลือออกดู ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลดีสำหรับการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนที่เป็นทองแดง
ที่มาของข้อมูล tips.thaiware.com