วิธีป้องกันการเกิดโรค CSV (Computer Vision Syndrome)

          ทุกคนเป็นไหมครับเวลาที่เราทำงานอยู่หน้าคอมนานๆเนียจะมีอาการ ดวงตาล้า, ตาแห้ง, ตาพร่า, มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน จับโฟกัสได้ยาก และบางทีมีอาการปวดหัวร่วมด้วย คนที่มีอาการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค CSV (Computer Vision Syndrome)

แล้วโรค CSV คืออะไรล่ะ ?

          โรค CSV หรือ Computer Vision Syndrome  ก็คือ กลุ่มอาการทางตาและการมองเห็นที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนะครับ โดยความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามระเวลาของการใช้งาน จากการศึกษาของประเทศอเมริกานะครับรายงานว่า 90% ของภาวะนี้จะสามารถพบได้กับผู้ใช้ที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมง โดยไม่หยุดพักนั่นเอง

Eyecare course - Education Bureau

เครดิตรูปภาพ https://www.edb.gov.hk/en/edu-system/primary-secondary/applicable-to-primary-secondary/it-in-edu/eyecare/pri-device.html

อาการที่สังเกตได้

  1. จะมีอาการทางตา เช่น ตาแห้ง แสบเคืองตา ปวดกระบอกตา ตาล้า สู้แสงไม่ได้ โฟกัสได้ช้า หรือตาพร่ามัว และนอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการศึกษาของการมีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นมีผลกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอีกด้วย

  2. อาการทางระบบของกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ เป็นต้น

Computer Vision Syndrome Treatment in Chennai | Amrit Hospital

เครดิตรูปภาพ https://www.amrithospitals.com/ophthalmology/general-eye-care/computer-vision-syndrome.php

สาเหตุ

          ปัจจัยแรกเลยคือ ดวงตา จะพบการทำงานผ่านจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นั้น ต้องใช้สายตาระยะใกล้ถึงกลาง โดยจะต้องเพ่งกล้ามเนื้อตาให้มองภาพให้คมชัดมากขึ้น เลยส่งผลให้การกระพริบตานั้นลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการปวดตาและตาแห้งง่ายขึ้นครับ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแล จะทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุของตา และเกิดอาการตาแดงได้ การใส่คอนแทกเลนส์ ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ทำให้ตาแห้งได้ ถ้าเกิดตาแห้งมากๆ มีโอกาสที่ทำให้กระจกตาถลอกหรือเป็นแผล มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและส่งผลต่อการมองเห็นในที่สุด

Computer Vision Syndrome Affects Millions - The New York Times

เครดิตรูปภาพ https://archive.nytimes.com/well.blogs.nytimes.com/2016/05/30/computer-vision-syndrome-affects-millions/

          ต่อมาคือสภาพแวดล้อมในห้องทำงาน เช่น แสงสว่างในห้องไม่เหมาะสม ระยะห่างจากจอไม่เหมาะสม มีแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สัญญาณจากหน้าจอที่ไม่สม่ำเสมอ สิ่งตางๆเหล่านี้ทำให้เราต้องเพ่งตามากขึ้น จนเกิดอาการเมื่อยล้าที่ตา และปวดตาได้ นอกจากนี้การที่เราอยู่ในห้องแอร์นั้น มีความชื้นในอากาศน้อย ก็สามารถทำให้ตาแห้งได้เช่นกัน

         โต๊ะและเก้าอี้ ถ้าปรับไม่ได้ในระดับที่เหมาะสม จะส่งผลต่อท่านั่ง รวมถึงระดับของสายตา อาจะต้องก้มเหรือเงยมากจนเกินไป จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้าเนื้อได้

Computer Vision Syndrome, Digital Eye Strain, CVS, Dry Eye - Symptoms - Exams and Treatments in Chicago IL Metro Area

เครดิตรูปภาพ https://www.optometrists.org/ireland/computer-vision-syndrome

วิธีการป้องกัน

1. ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์

  1. ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้ส่าวพอดีกับสายตา
  2. ปรับสีของตัวอักษร และพื้นหลังให้มองได้ชัดขึ้น มารตราฐานคือ ตัวอักษรสีเข้ม ตัวพื้นสว่าง และมองได้สบายตาสุด
  3. ใช้แผ่นกรองแสงติดหน้าจอคอมพิวเตอร์

2. ปรับสถานที่และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

  • ระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์ถึงระดับสายตา ควรมีระยะห่าง 20-28 นิ้ว
  • ปรับหน้าจอให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 5-6 นิ้ว เพื่อให้ขณะทำงาน ศีรษะตั้งตรง สายตามองลงต่ำเล็กน้อย จะเป็นการลดการเปิดกว้างของตา ช่วยลดอาการตาแห้ง ปวดคอ ปวดไหล่ จากการก้มหรือเงยมากเกินไป
  • แป้นพิมพ์และเม้าส์ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับข้อศอก และวางในระยะที่ใกล้ตัวที่ใช้งานได้สบาย ไม่เหยียดแขน สามารถใช้ที่รองข้อมือ เพื่อช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้ ระดับเก้าอี้ที่นั่ง ควรปรับให้สามารถวางเท้าบนพื้น เข่าตั้งฉาก หรือทำมุม > 90 องศากับพื้น
  • เก้าอี้ควรมีพนักพิงที่เหมาะสม สามารถนั่งพิงในระดับหลังตรง ที่พิงหลังสามารถ พยุงกล้ามเนื้อหลังและไหล่ได้
  • ที่วางเอกสารควรอยู่ในระดับสายตา ระยะใกล้กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดการขยับศีรษะหรือก้มเงยบ่อยๆ ช่วยลดการปรับโฟกัสของตา ลดอาการตาล้า และลดอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

3.  ปรับแสงสว่างในห้องทํางาน

  • ลดแสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่เพดาน หรือโคมไฟที่โต๊ะทํางาน รวมทั้งปิดม่านหรือหน้าต่างเพื่อลดแสงสว่างจากภายนอก เนื่องจากแสงจ้าจะทําให้เกิดแสง สะท้อนที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทําให้มองภาพได้ไม่คมชัด ต้องเพ่งมากขึ้น
  • ติดโคมไฟที่โต๊ะทํางาน เพื่อช่วยให้มองเอกสารได้สบายตามากขึ้น โดยระดับความสว่างอยู่ ระดับเดียวกับหน้าจอคอมพิวเตอร์

Wellness Wednesday - Techniques on avoiding 'Computer Vision Syndrome' - ISKL

เครดิตรูปภาพ https://www.iskl.edu.my/wellness-wednesday-techniques-on-avoiding-computer-vision-syndrome/

 

4. การพักสายตาระหว่างการทํางานอย่างสม่ำเสมอ

  • ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20 คือ ควรมีการพักสายตาหลังจากนั่งทํางานไป 20 นาที โดยพัก 20 วินาที อาจใช้วิธีหลับตา หรือ มองโฟกัสในระยะไกลที่ 20 ฟุต จะเป็นการ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาได้
  • หลังจากนั่งทํางานต่อเนื่องกัน 2 ชั่วโมง ควรหยุดพัก 15 นาที โดยลุกเดิน หรือทํางานที่ไม่ได้โฟกัสหน้าจอจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยล้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานได้

5. การหยอดน้ำตาเทียม

  • ควรหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำ เพื่อช่วยลดอาการตาแห้ง แสบเคืองตา จากการที่กระพริบตาลดลง เนื่องจากจ้องมองคอมพิวเตอร์ และช่วยให้สบายตามากขึ้น

6. ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม

  • ควรตรวจวัดสายตา เพื่อดูความเหมาะสมของแว่นที่ใส่อยู่กับค่าสายตา เพราะการสวมแว่นสายตาที่ผิดไปจากค่าสายตาจริง ทำให้การโฟกัสภาพได้ยาก ภาพไม่คมชัด เกิดอาการปวดกระบอกตาและปวดศีรษะได้

7 Tips to Take Care of Your Eyes if You Work in Front of a Computer All Day - CNET

เครดิตรูปภาพ https://www.cnet.com/health/personal-care/7-tips-to-take-care-of-your-eyes-if-you-work-in-front-of-a-computer-all-day/

          ปัจจุบันโรค Computer Vision Syndrome เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้ ถ้ามีอาการอยู่ควรปรึกษา แพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อมูลจาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/computer-vision-syndrome (พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์)