ทุกคนเคยสงสัยไหมครับว่าเวลาฝนตกหนัก ลมแรง ฟ้าร้อง มันทำให้อินเตอร์เน็ตที่เรากำลังใช้งานอยู่เนียช้า แล้วก็หมุนติ้วๆ หรือไม่ก็หลุดไปเฉยเลย งงมาก!! งั้นเรามาหาคำตอบและแก้ข้อสงสัยไปพร้อมๆกันนะครับ
ก่อนอื่นเราต้องมาดู ปัจจัยที่ทำให้สภาพอากาศนั้น มีผลต่อความเร็วอินเตอร์เน็ตกันก่อน
ในช่วงที่เราใช้ อินเทอร์เน็ต (Internet) ความเร็วสูงกันในรูปแบบของ DSL, ADSL, หรือการเชื่อมต่อแบบ NBN ในบางรูปแบบ (เป็นรูปแบบหนึ่งของโปรโตคอลอินเตอร์เน็ต) เราต้องทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกันผ่านสายทองแดงของโทรศัพท์ ซึ่งบรรดาสายที่ว่ามานั้น อาจจะอยู่ใต้พื้นดิน หรือพาดผ่านตามเสาไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เราเห็นกันก็ได้ และปัญหาที่ส่งผลต่อความเร็วอินเตอร์เน็ตนั้น ก็คือเจ้าสายทองแดงที่ว่านี่แหละ งั้นเรามาดูเจ้าตัวสายทองแดงกันดีกว่า
สายทองแดง
ตัวทองแดงนั้น ถือเป็นวัสดุที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการรับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในระยะไกล และในความเป็นจริงแล้ว พวกมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่แรกด้วยอีกต่างหาก แต่ถูกออกแบบมาให้เอาไว้สื่อสารด้วยเสียง (Voice Communication) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1876 (พ.ศ. 2419) เพื่อใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว แถมเจ้าสายพวกนี้นับว่าอยู่มานานเกินศตวรรษ และแน่นอนว่าผู้ที่คิดค้นขึ้นมา คงไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าว่า มันจะยังถูกใช้งานมาจนถึงศตวรรษที่ 21 ด้วย หากต้นทางของชุมสายอินเตอร์เน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้ามาภายในบ้านของคุณอยู่ใกล้ ๆ ความเร็วในการเชื่อมต่อก็จะเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากพื้นที่เชื่อมต่อของคุณอยู่ไกลออกไป ความเร็วอินเตอร์เน็ตก็จะเริ่มช้าลงเรื่อย ๆ แถมในเวลาที่ฝนตก มันก็ยิ่งช้าลงไปอีก เพราะอย่างที่เรารู้ ๆ กันดีว่า ทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นเยี่ยม เมื่อสายทองแดงต้องทำหน้าที่ส่งข้อมูลในระหว่างที่ไฟฟ้าเข้าแทรกแซง มันก็ย่อมจะล่มเป็นธรรมดา
การฝังสายลงใต้ดินก็มีส่วนในเรื่องนี้
โดยทั่วไปแล้ว สายโทรศัพท์ มักถูกฝังลงใต้ดินโดยใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวส่งสัญญาณ มันจะไม่มีปัญหาอะไรถ้าเกิดว่าพื้นที่โดยรอบนั้นแห้ง และสายโทรศัพท์ได้รับการห่อหุ้มเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากกระแสไฟฟ้ามาเจอกับน้ำ นั่นก็อีกเรื่อง… บรรดาสายโทรศัพท์ที่ถูกฝังลงใต้ดิน มักจะอยู่ที่บริเวณแผ่นคอนกรีตที่มีลักษณะคล้ายฝาท่อ แต่ไม่ใช่ท่อระบายน้ำ ที่ทำให้ช่างผู้ชำนาญงาน สามารถลงไปตรวจสอบได้ง่ายหากมีปัญหาหรือข้อขัดข้องใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากน้ำฝนเข้าไปถึงในบริเวณที่ว่านี้ด้วย ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสายโทรศัพท์ลดน้อยลง เพราะเกิดปฎิกิริยาระหว่างไฟฟ้ากับน้ำมาเจอกัน ทำให้การเชื่อมต่อช้าลง และมีสัญญาณอ่อนลง ไปจนถึงขั้นที่ใช้งานไม่ได้เลย
เครดิตภาพ : https://selectcon.com/content_from_picture_16.asp
ต่อมาครับ สภาพอากาศที่เลวร้าย ส่งผลต่อความเร็วอินเตอร์เน็ตอย่างไรบ้าง ?
อย่างที่อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า ผลกระทบจากสภาพอากาศที่เราเขียนไปส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต แบบ DSL และ ADSL เป็นหลัก เนื่องจากสายสัญญาณนั้นทำมาจากทองแดง มักได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าเป็นสายไฟเบอร์นั้นจะไม่ได้รับผลกระทบเพราะตัวสายมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟฟ้า เรามาดูหัวข้อของสภาพอากาศกันดีกว่าว่าแต่ละหัวข้อจะมารบกวนสัญญาณ Wi-Fi ของเราได้ยังไงบ้าง
1. สภาพอากาศที่มีเมฆหมอกหนาครึ้ม และมีฝนตก
หากคุณใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) อยู่ ควรรู้ไว้ว่า คลื่นสัญญาณ Wi-Fi นั้นเดินทางผ่านสัญญาณวิทยุ และเมื่อฝนตก บรรดาเม็ดฝนก็ซับสัญญาณเข้าไปด้วย จึงทำให้สัญญาณ Wi-Fi แทบไม่สามารถเดินทางไปให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ และมักจะทำให้ขาดการเชื่อมต่อไป นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าฝนจะไม่ตก มีแค่ท้องฟ้าอึมครึมที่เต็มไปด้วยเมฆหมอกหนา แต่นั่นก็จัดว่าเป็นการรบกวนคลื่นความถี่ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเช่นกัน
เครดิตภาพ : https://www.pinterest.com/pin/636274253586643760/
2. พายุฝนฟ้าคะนอง
การทำงานของเราเตอร์ Wi-Fi จะใช้การส่งสัญญาณในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเมื่อสภาพอากาศอยู่ในลักษณะฝนตก, มีพายุแรง, หรือมีพายุฝน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่สามารถจับกับสัญญาณ Wi-Fi ได้ ทำให้ความเร็วในการรับส่งสัญญาณลดลง
เครดิตภาพ : https://www.innnews.co.th/news/news-general/news_294066/
3. สภาพอากาศที่ส่งผลต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตในรูปแบบอื่น ๆ
สภาพอากาศที่เลวร้ายไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อดาวเทียมที่ให้บริการเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อโทรศัพท์พื้นฐาน, อินเตอร์เน็ตแบบ DSL, อินเตอร์เน็ตไร้สาย, สายไฟเบอร์, และบริการอินเตอร์เน็ตในทุกรูปแบบ ซึ่งการที่มีฝนตกหนัก, มีพายุ, หรือหิมะ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายสัญญาณ และทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
เครดิตภาพ : https://salikarawai.wordpress.com/2011/10/03/welcome-to-sailka/
4. เพราะออกไปไหนไม่ได้ เลยทำให้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น
หากเราเปลี่ยนมุมมองไปในอีกแง่มุมหนึ่ง การมีสภาพอากาศที่เลวร้าย อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสายสัญญาณ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่ส่งผลกระทบทางอ้อมแทน นั่นก็คือ การที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก การที่สภาพอากาศเลวร้ายจนทำให้ผู้คนเลือกที่จะอยู่แต่ในที่พักอาศัย ไม่ได้ออกไปไหน แล้วพร้อมใจกันเปิดหนังภาพยนตร์ดูแบบออนไลน์ หรือพึ่งพาบริการรับชมสื่อบันเทิงแบบรายเดือนแทน ก็เลยกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแทรฟฟิกขึ้นพร้อมกันจำนวนมาก และเมื่อมีคนใช้งานพร้อม ๆ กัน ความเร็วในการดาวน์โหลดก็ลดลงเพราะการแย่งช่องสัญญาณกันนั่นเอง
เครดิตภาพ : https://www.prachachat.net/ict/news-855712