17 มิถุนายน “วันต่อต้านภัยแล้งและฝนแล้งโลก” (World Day Against Drought and Drought)

          รู้หรือไม่ วันต่อต้านภัยแล้งและฝนแล้งโลก (World Day Against Drought and Drought) ตรงกับวันที่ 17 มิถุนายนของทุกปี ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ความเป็นมาของวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก
          วันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลกเริ่มขึ้นหลังพบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั่วโลกถูกทำลาย และกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยสังเกตุได้จากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือสภาพอากาศแปรปรวน
ขณะที่สาเหตุของปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า,การเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคมขนส่ง,การอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า รวมถึงพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศวิทยาและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยตรง
ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
          1. ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้น้ำในการดำรงชีวิตและใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
          2. แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นใหม่มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการเก็บกักน้ำ
          3. การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร เช่น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ไม่มีต้นไม้ที่คอยดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดินและยึดดินให้มีความมั่นคง จึงทำให้ขาดแคลนน้ำที่จะถูกปล่อยออกมาสู่ลำธารและลำน้ำในช่วงฤดูแล้ง
          4. การวางผังเมืองที่ไม่เหมาะสม เช่น การแบ่งพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงขาดการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม
          5. ผลกระทบจากปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก ทำให้ความร้อนสะสมอยู่ในอากาศใกล้ผิวโลกมากขึ้น ส่งผลให้อากาศร้อนกว่าปกติ
          6. การขาดจิตสำนึกในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำ เช่น การใช้น้ำไม่ประหยัด และการบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ
          ปัญหาภัยแล้งหรือฝนแล้งยังคงเป็นปัญหาหลักที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญทุกปี โดยประเทศไทยต้องเผชิญภาวะภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมถึงประชากรส่วนใหญ่ต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยการอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอุปโภคบริโภค
          ทั้งนี้ การเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีความสมบูรณ์เพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ พร้อมทั้งใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน
ที่มาข้อของมูล : library.parliament.go.th