สาระความรู้ “เครื่องหมายและป้ายจราจร”

วันนี้แอดจะมาแบ่งปันสาระความรู้ เกี่ยวกับป้ายและเครื่องหมายจราจรบนท้องถนน ซึ้งมีความสำคัญมากสำหรับพวกเราชาวขนส่งและผู้ที่ใช้รถใช้ถนนทุกท่าน เพื่อที่จะลดการเกิดอุบัติเหตที่ไม่คาดคิดทางแอดมิน บริษัท หยกรุ่งเรือง ขนส่ง จำกัด
จึงได้นำข้อมูลสาระความรู้เกี่ยวกับจราจรมาฝากผู้ที่ใช้รถใช้ถนนทุกท่านครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเครื่องหมายจราจรกันก่อนดีกว่า เครื่องหมายจราจร คือ สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อ กำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถบิ๊กไบค์ ต่างก็ใช้กฎเดียวกัน จะมีดังนี้

1. สัญญาณไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจร โดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ เพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่
-สีแดง คือ ให้รถหยุด
-สีเหลือง คือ ให้รถระวัง เตรียมหยุด
-สีเขียว คือ ให้รถไปได้
❗️สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกะพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่าน หมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น❗️

2. ป้ายจราจร

ป้ายจราจร เป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท
– เครื่องหมายจราจร ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา
– เครื่องหมายจราจร ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า
– เครื่องหมายจราจร ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่างๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น

3. เครื่องหมายจราจรอื่นๆ

– เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายบนพื้นทางและขอบทางเท้า

เครื่องหมายจราจร ประเภทป้ายบังคับ 1 และ รูปภาพเครื่องหมายจราจร

แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด

2. ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์

หยุด

1. “หยุด”

ความหมาย  รถทุกชนิดต้องหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

ให้ทาง

2. “ให้ทาง”

ความหมาย รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไป ก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และ ไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว  จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

ให้รถสวนทางมาก่อน

3. “ให้รถสวนทางมาก่อน”

ความหมาย ให้ผู้ขับรถทุกชนิดหยุดรถตรงป้าย เพื่อให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน ถ้ามีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อนก็ให้หยุดรถรอถัดต่อกันมาตามลำดับ เมื่อรถที่สวนทางมาได้ผ่านไปหมดแล้ว จึงให้รถที่หยุดรอตามป้ายนี้เคลื่อนไปได้

ห้ามแซง

4. “ห้ามแซง”

ความหมาย ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามเข้า

5. “ห้ามเข้า”

ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดเข้าไปในทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามกลับรถไปทางขวา

 6. “ห้ามกลับรถไปทางขวา”

ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางขวาไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ  ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามกลับรถไปทางซ้าย

 7. “ห้ามกลับรถไปทางซ้าย”

ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางซ้ายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามเลี้ยวซ้าย

 8. “ห้ามเลี้ยวซ้าย”

ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย

ห้ามเลี้ยวขวา

 9. “ห้ามเลี้ยวขวา”

ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางขวา

ห้ามรถยนต์

 10. “ห้ามรถยนต์”

ความหมาย ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถบรรทุก

   11. “ห้ามรถบรรทุก”        

ความหมาย ห้ามรถบรรทุกทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถจักรยานยนต์

  12. “ห้ามรถจักรยานยนต์”

ความหมาย ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถยนต์สามล้อ

13. “ห้ามรถยนต์สามล้อ”

ความหมาย ห้ามรถยนต์สามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถสามล้อ

 14. “ห้ามรถสามล้อ”

ความหมาย ห้ามรถสามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถจักรยาน

15. “ห้ามรถจักรยาน”

ความหมาย   ห้ามรถจักรยานผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามล้อเลื่อนลากเข็น

 16. “ห้ามล้อเลื่อนลากเข็น”

ความหมาย  ห้ามล้อเลื่อนลากเข็นผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร

 17. “ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร”

ความหมาย ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตรทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์

 18. “ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์”

ความหมาย ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์

 19. “ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์”

ความหมาย ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามใช้เสียง

20. “ห้ามใช้เสียง”

ความหมาย ห้ามมิให้ใช้เสียงสัญญาณหรือทำให้เกิดเสียงที่ก่อการรบกวนด้วยประการใด ๆในเขตที่ติดตั้งป้าย

ห้ามคน

   21. “ห้ามคน”

ความหมาย ห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามจอดรถ

22. “ห้ามจอดรถ”

ความหมาย ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ-ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า

ห้ามหยุดรถ

 23. “ห้ามหยุดรถ”

ความหมาย ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด

หยุดตรวจ

  24. “หยุดตรวจ”

ความหมาย ให้ผู้ขับรถหยุดรถที่ป้ายนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจและเคลื่อนรถต่อไปได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแล้วเท่านั้น

จำกัดความเร็ว

 25. “จำกัดความเร็ว”

ความหมาย ห้ามมิให้ผู้ขับรถทุกชนิดใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น

ห้ามรถหนักเกินกำหนด

26. “ห้ามรถหนักเกินกำหนด”

ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดหรือเมื่อรวมน้ำหนักรถกับ น้ำหนักบรรทุก เกินกว่าที่กำหนดไว้เป็น “ตัน” ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้นๆ เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถกว้างเกินกำหนด

 27. “ห้ามรถกว้างเกินกำหนด”

ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีขนาดกว้างเกินกำหนดเป็น “เมตร” ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้น เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ห้ามรถสูงเกินกำหนด

 28. “ห้ามรถสูงเกินกำหนด”

ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีความสูงของรถรวมทั้งของที่บรรทุกเกินกว่ากำหนดเป็น “เมตร” ตาม จำนวนเลข ในเครื่องหมายเข้าไปในเขตทางหรืออุโมงค์ที่ติดตั้งป้าย

ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า

   29. “ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า”

ความหมาย ให้ขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด

ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

30. “ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย”

ความหมาย ให้ขับรถไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา

 31. “ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา”

ความหมาย ให้ขับรถไปทางขวาแต่ทางเดียว

ให้ชิดซ้าย

 32. “ให้ชิดซ้าย”

ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางซ้ายของป้าย

ให้ชิดขวา

 33. “ให้ชิดขวา”       

ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางขวาของป้าย

ให้เลี้ยวซ้าย

34. “ให้เลี้ยวซ้าย”

ความหมาย ให้ขับรถเลี้ยวไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

ให้เลี้ยวขวา

35. “ให้เลี้ยวขวา”

ความหมาย ให้ขับรถเลี้ยวไปทางขวาแต่ทางเดียว

ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

  36. “ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา”

ความหมาย ให้ขับรถไปทางซ้าย หรือไปทางขวา

ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา

 37. “ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา”

ความหมาย ให้ขับรถผ่านไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของป้าย

วงเวียน

38. “วงเวียน”

ความหมาย ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียนและรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณวงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่เล่นอยู่ในทางรอบวงเวียนไปก่อน   ห้ามขับรถแทรกหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในทางรอบบริเวณวงเวียน

สุดเขตบังคับ

39. “สุดเขตบังคับ”

ความหมาย พ้นสุดระยะที่บังคับตามความหมายของป้ายบังคับที่ติดตั้งไว้ก่อน

เครื่องหมายจราจร ประเภทป้ายบังคับ 2 และ รูปภาพเครื่องหมายจราจร

 ให้รถตรงไป

1. ให้รถตรงไป

หมายความว่าผู้ขับขี่ต้องขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด เป็นทางเดินรถทางเดียวเท่านั้น ห้ามมิให้ไปทางซ้ายหรือไปทางขวา

ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

2. ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางบังคับให้เดินรถทางเดียวไปทางซ้ายเท่านั้น

ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา

 3. ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา

หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางบังคับให้เดินรถทางเดียวไปทางขวาเท่านั้น ห้ามมิให้ขับรถไปทางซ้าย

 ให้ชิดซ้าย

4. ให้ชิดซ้าย

หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเครื่องหมาย

ให้ชิดขวา

5. ให้ชิดขวา

หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านขวาของเครื่องหมาย

ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา

 6. ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา

หมายความว่า ให้ขับรถผ่านไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของป้าย

 ให้เลี้ยวซ้าย

 7. ให้เลี้ยวซ้าย

หมายความว่า ให้ขับรถเลี้ยวไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

ให้เลี้ยวขวา

  8. ให้เลี้ยวขวา

หมายความว่า ให้ขับรถเลี้ยวไปทางขวาแต่ทางเดียว

ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

9. ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

หมายความว่า ให้ขับรถไปทางซ้าย หรือไปทางขวา

ให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย

10. ให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย

หมายความว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถตรงไปหรือเลี้ยวไปทางซ้ายเท่านั้น

ให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา

 11. ให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา

หมายความว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถตรงไปหรือเลี้ยวไปทางขวาเท่านั้น

วงเวียน

12. วงเวียน

หมายความว่า ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน และรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณวงเวียนต้องหยุด ให้สิทธิแก่รถที่เล่นอยู่ในทางรอบวงเวียนไปก่อน ห้ามขับรถแทรกหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในทางรอบบริเวณวงเวียน

ช่องเดินรถประจำทาง

 13. ช่องเดินรถประจำทาง

หมายความว่า ช่องเดินรถที่ติดตั้งป้ายเป็นบริเวณที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถประจำทาง

 ช่องเดินรถมวลชน

14. ช่องเดินรถมวลชน

หมายความว่า ช่องเดินรถที่ติดตั้งป้ายเป็นบริเวณที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถมวลชน และให้ใช้ได้เฉพาะรถที่มีจำนวนคนบนรถไม่น้อยกว่าตัวเลขที่ระบุในป้าย

ช่องเดินรถจักรยานยนต์

 15. ช่องเดินรถจักรยานยนต์

หมายความว่า ช่องเดินรถที่ติดตั้งป้ายเป็นบริเวณที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถจักรยานยนต์

ช่องเดินรถจักรยาน

16. ช่องเดินรถจักรยาน

หมายความว่า ช่องเดินรถที่ติดตั้งป้ายเป็นบริเวณที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถจักรยาน

เฉพาะคนเดิน

17. เฉพาะคนเดิน

หมายความว่า บริเวณที่ติดตั้งป้ายเป็นบริเวณที่กำหนดให้ใช้ได้เฉพาะคนเดินเท้าเท่านั้น

ความเร็วขั้นต่ำ

 18. ความเร็วขั้นต่ำ

หมายความว่า บริเวณที่ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขที่ระบุในป้าย

เครื่องหมายจราจร ประเภทเตือน 

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

  1. ป้ายเตือนตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด

2. ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์

3. ป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ

ทางโค้งซ้าย

1. “ทางโค้งซ้าย”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ทางโค้งขวา

2.  “ทางโค้งขวา”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย

3. “ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา

 4. “ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มซ้าย

5. “ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มซ้าย”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้ายแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มขวา

 6. “ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มขวา”

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวาแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย

7. “ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย”

ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา

 8. “ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา”

ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ทางโทตัดทางเอก

9.  “ทางโทตัดทางเอก”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีทางโทตัด ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย

 10.  “ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทแยกจากทางเอกไปทางซ้ายเป็นรูปตัววาย ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทแยกทางเอกทางซ้าย

11. “ทางโทแยกทางเอกทางซ้าย”  

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางแยกไปทางซ้ายให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทแยกทางเอกทางขวา

12. “ทางโทแยกทางเอกทางขวา”  

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางแยกไปทางขวาให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย

13. “ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทแยกไปทางซ้ายและหลังจากนั้นมีทางโทแยกไปทางขวา ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มขวา

14.  “ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มขวา”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทแยกไปทางขวาและหลังจากนั้นมีทางโทแยกไปทางซ้าย ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้าย

15.  “ทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้าย”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทเข้ามาเชื่อมด้านซ้าย ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

ทางโทเชื่อมทางเอกจากขวา

16. “ทางโทเชื่อมทางเอกจากขวา”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทเข้ามาเชื่อมด้านขวา ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

วงเวียนข้างหน้า

    17. “วงเวียนข้างหน้า”   

ความหมาย ทางข้างหน้าจะเป็นทางแยกมีวงเวียน ให้ขับรถให้ช้าลง และเดินรถด้วยความระมัดระวัง

ทางแคบลงทั้งสองด้าน

18. “ทางแคบลงทั้งสองด้าน”

ความหมาย ทางข้างหน้าแคบลงกว่าทางที่กำลังผ่านทั้งสองด้าน ผู้ขับรถจะต้องขับรถให้ช้าลงและเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น ขณะที่รถผ่านทางแคบผู้ขับรถจะต้องระมัดระวังมิให้รถชนหรือเสียดสีกัน

ทางแคบด้านซ้าย

 19. “ทางแคบด้านซ้าย”

ความหมาย ทางข้างหน้าด้านซ้ายแคบลงกว่าทางที่กำลังผ่าน ผู้ขับรถต้องขับรถให้ช้าลง และเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น

ทางแคบด้านขวา

  20. “ทางแคบด้านขวา”

ความหมาย ทางข้างหน้าด้านขวาแคบลงกว่าทางที่กำลังผ่าน ผู้ขับรถต้องขับรถให้ช้าลง และเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นความ

สะพานแคบ

21. “สะพานแคบ”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีสะพานแคบ รถเดินหลีกกันไม่ได้ ให้ขับรถให้ช้าลงและระมัดระวังอันตรายจากรถที่จะสวนมา จากอีกฝ่ายหนึ่งของสะพาน ถ้ามีป้ายอื่นติดตั้งอยู่ ก็ให้ปฏิบัติตามป้ายนั้น ๆ ด้วย

ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง

 22. “ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และสังเกตดูรถไฟทั้งทางขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไปและปลอดภัยแล้ว จึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด

ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง

  23. “ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง”

ความหมาย หน้าที่ได้กั้นทาง หรือมีเครื่องกั้นทางปิดกั้น ถ้ามีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อนก็ให้หยุดรถถัดต่อมาตามลำดับ เมื่อเปิดเครื่องกั้นทางแล้วให้รถที่หยุดรอเคลื่อนที่ตามกันได้

ทางขึ้นลาดชัน

24. “ทางขึ้นลาดชัน”

ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางลาดชันขึ้นเขาหรือขึ้นเนิน สันเขาหรือสันเนินอาจกำบังสายตาไม่ให้มองเห็นรถที่สวนมา ให้ขับรถให้ช้าลงและเดินรถใกล้ขอบทางด้านซ้ายให้มาก กับให้ระมัดระวังอันตรายจากรถที่สวนทางมา

ทางลงลาดชัน

25. “ทางลงลาดชัน”

ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน ให้ขับรถให้ช้าลงเดินรถใกล้ขอบทางด้านซ้ายให้มาก และผู้ขับรถไม่ควรปลดเกียร์หรือดับเครื่องยนต์เป็นอันขาดในกรณีที่เป็นทางลง เขา หรือเนินที่ชันมากให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อความปลอดภัย

เตือนรถกระโดด

26. “เตือนรถกระโดด”

ความหมาย  ทางข้างหน้าเปลี่ยนระดับอย่างกะทันหัน เช่น บริเวณคอสะพาน  ทางข้ามท่อระบายน้ำ และคันชะลอความเร็วเป็นต้น ให้ขับรถให้ช้าลงและเพิ่มความระมัดระวัง

ผิวทางขรุขระ

27. “ผิวทางขรุขระ”

ความหมาย  ทางข้างหน้าขรุขระมากมีหลุมมีบ่อ หรือเป็นสันติดต่อกัน ให้ขับรถให้ช้าลงและเพิ่มความระมัดระวัง

ทางลื่น

28. “ทางลื่น”

ความหมาย ทางข้างหน้าลื่นเมื่อผิวทางเปียกอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ  การเบารถ หรือเลี้ยวรถในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ผิวทางร่วน

29. “ผิวทางร่วน”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีวัสดุผิวทางหลุดกระเด็นเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงให้ขับรถให้ ช้าลง และระมัดระวังอันตราย อันอาจเกิดจากวัสดุผิวทาง

สะพานเปิดได้

30. “สะพานเปิดได้”

ความหมาย ทางข้างหน้าจะต้องผ่านสะพานที่สามารถเปิดให้เรือลอด  ให้ขับรถให้ช้าลงและระมัดระวังในการหยุดรถ เมื่อเจ้าหน้าที่จะปิดกั้นทางเพื่อเปิดสะพานให้เรือผ่านเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อรถข้างหน้าและรถข้างหลัง

ทางร่วม

31.  “ทางร่วม”

ความหมาย  ทางข้างหน้าจะมีรถเข้ามาร่วมในทิศทางเดียวกันจากทางซ้ายหรือทางขวาตามลักษณะ สัญลักษณ์ในป้าย ผู้ขับรถจะต้องขับรถให้ช้าลง และเดินรถด้วยความระมัดระวัง

ทางคู่ข้างหน้า

  32. “ทางคู่ข้างหน้า”

ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคู่มีเกาะหรือสิ่งอื่นใดแบ่งการจราจรออกเป็นสองทางไปทาง หนึ่งมาทางหนึ่ง ให้ขับรถชิดไปทางด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

สิ้นสุดทางคู่

33. “สิ้นสุดทางคู่”

ความหมาย  ทางข้างหน้าเป็นทางร่วมที่ไม่มีเกาะหรือสิ่งอื่นใดแบ่งการจราจร ให้ขับรถช้าลงและชิดด้านซ้ายของทาง และเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น

จุดกลับรถ

34. “จุดกลับรถ”

ความหมาย ทางข้างหน้าจะมีที่กลับรถ

สัญญาณจราจร

35. “สัญญาณจราจร”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ให้ขับรถช้าลงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร

หยุดข้างหน้า

36. “หยุดข้างหน้า”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีเครื่องหมายหยุดติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับรถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที เมื่อขับรถถึงป้ายหยุด

ระวังคนข้ามถนน

     37. “ระวังคนข้ามถนน”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีทางสำหรับคนข้ามถนนหรือมีหมู่บ้านราษฎรอยู่ข้างทาง ซึ่งมีคนเดินข้ามไปมาอยู่เสมอ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและ ระมัดระวังคนข้ามถนน ถ้ามีคนกำลังเดินข้ามถนนให้หยุดรถให้คนเดินข้ามถนนไปได้โดยปลอดภัย

ระวังคนข้ามถนน

38. “ระวังคนข้ามถนน”

ความหมาย ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ให้ขับรถให้ช้าลงและระมัดระวังอุบัติเหตุซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแก่เด็กนักเรียน ถ้ามีเด็กนักเรียนกำลังเดินข้ามถนนให้หยุดรถให้เด็กนักเรียนข้ามถนนไปได้โดย ปลอดภัย ถ้าเป็นเวลาที่โรงเรียนกำลังสอน ให้งดใช้เสียงสัญญาณและห้ามทำให้เกิดเสียงรบกวนด้วยประการใด ๆ

ระวังสัตว์

39. “ระวังสัตว์”

ความหมาย  ทางข้างหน้าอาจมีสัตว์ข้ามทางให้ขับรถให้ช้าลง และระมัดระวังอันตรายเป็นพิเศษ

ระวังอันตราย

40. “ระวังอันตราย”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีอันตราย เช่น เกิดอุบัติเหตุ ทางทรุด เป็นต้น ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังอันตรายเป็นพิเศษ

เขตห้ามแซง

41.  “เขตห้ามแซง”

ความหมาย ใช้ติดตั้งทางด้านขวาของทาง หมายความว่า ทางช่วงนั้นมีระยะมองเห็นจำกัด  ผู้ขับรถไม่สามารถมองเห็นรถที่สวนมาในระยะที่จะแซงรถอื่นได้

เครื่องหมายลูกศรคู่

 42. “เครื่องหมายลูกศรคู่”

ความหมาย  มีเกาะหรือสิ่งกีดขวางอยู่กลางทางจราจร ยวดยานสามารถผ่านไปได้ทั้งทางซ้ายและทางขวาของป้าย

อุบัติเหตุข้างหน้า

 43. “อุบัติเหตุข้างหน้า”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น อาจมียวดยานหรือสิ่งอื่นกีดขวางทางจราจร

ทางเบี่ยงซ้าย

44. “ทางเบี่ยงซ้าย”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีการก่อสร้างทางหลวง การจราจรจะต้องเปลี่ยนแนวทางไปใช้ทางเบี่ยงหรือทางชั่วคราวทางด้านซ้าย

ทางเบี่ยงขวา

45. “ทางเบี่ยงขวา”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีการก่อสร้างทางหลวง การจราจรจะต้องเปลี่ยนแนวทางไปใช้ทางเบี่ยงหรือทางชั่วคราวทางด้านขวา

เครื่องจักรกำลังทำงาน

46. “เครื่องจักรกำลังทำงาน”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีเครื่องจักรกำลังทำงานอยู่ข้างทาง และล้ำเข้ามาในผิวจราจร หรือใกล้ผิวจราจรเป็นครั้งคราว

คนทำงาน
 


47. “คนทำงาน”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีคนงานกำลังทำงานอยู่บนผิวจราจรหรือใกล้ชิดกับผิวจราจร

สำรวจทาง

 48. “สำรวจทาง”

ความหมาย  ทางข้างหน้ามีเจ้าหน้าที่กำลังทำการสำรวจทางอยู่บนผิวจราจรหรือใกล้ชิดกับผิวจราจร

   เครื่องหมายจราจร ประเภท เครื่องหมายบนพื้นทาง

 

เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ

1. เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ (เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร)

ความหมาย ให้ขับรถในด้านซ้าย เลี้ยวขวาหรือแซงหน้ารถคันอื่นได้เมื่อปลอดภัย

เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน

2. เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน (เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร)

ความหมาย ให้ทราบว่าจะถึงเขตทางข้าม แยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือกลับรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ (สังเกตดูจะเห็นว่าเส้นจะยาวกว่า เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ)

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง

3. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร)

ความหมาย ห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด

 เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่

4. เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่ (เส้นประคู่เส้นทึบ) (เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร)

ความหมาย รถทางเส้นประอาจข้ามหรือแซงได้เมื่อปลอดภัย

เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่

5. เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่ (เส้นทึบคู่เส้นประ) (เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร)

ความหมายรถทางเส้นทึบห้ามแซง ขับรถผ่าน หรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด

เส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซงคู่

6. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงคู่ (เส้นทึบคู่) (เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร)

ความหมาย ห้ามขับรถผ่าน ขับรถคร่อมเส้น ห้ามแซงโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง

เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ

7. เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ (เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 300 เซนติเมตร )

ความหมาย ให้ขับรถในช่องเดินรถ ห้ามขับคร่อมเส้นหรือทับเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถหรือกลับรถ

 เครื่องหมาย

8. เครื่องหมาย “เส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน” หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถประเภทเตือนเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร

ความหมาย แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง ห้ามขับคร่อมเส้นช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ

เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง

9. เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง (เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร)

ความหมาย ห้ามแซงโดยเด็ดขาด ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมเส้น หรือกลับรถ

เส้นขอบทาง

10. เส้นขอบทาง (เส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 60 เซนติเมตร)

ความหมาย ให้ขับรถในช่องทางจราจรด้านขวาของเส้น

 เส้นแบ่งเดินรถประจำทาง

11. เส้นแบ่งเดินรถประจำทาง (เส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร)

ความหมาย รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายของเส้นนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับผ่านเข้าไปในช่องนี้

 เส้นแบ่งภายในช่องเดินรถประจำทาง

12. เส้นแบ่งภายในช่องเดินรถประจำทาง

ความหมาย ให้รถประจำทางหรือรถที่กำหนดวิ่งในช่องทางได้ทั้ง 2 ช่อง ทั้งซ้ายและขวาของเส้นนี้

 เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทางสามารถข้ามผ่านได้

13. เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทางสามารถข้ามผ่านได้ (เส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร)

ความหมาย รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช่ช่องเดินรถทางด้านซ้าย ของเส้นนี้ รถประเภทอื่นให้ขับผ่านได้กรณีจะเข้าออกจากซอยหรือเลี้ยว

จุดเริ่มต้นช่องเดินรถประจำทาง

14. จุดเริ่มต้นช่องเดินรถประจำทาง

ความหมาย รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางหลังจุดนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางหลังจุดนี้

เส้นแนวหยุด

15. เส้นแนวหยุด (เส้นขวางถนน เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร)

ความหมาย ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นขวางทุกครั้งเพื่อดูจังหวะรถว่างหรือรอให้คนข้าม ในทางข้ามข้างหน้าผ่านไปก่อนเมื่อปลอดภัยจึงขับรถผ่านไป

เส้นให้ทาง

16. เส้นให้ทาง (เส้นขวางถนน เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร)

ความหมาย เป็นเส้นประสีขาวข้ามถนนให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง แล้วดูให้รถอื่นที่ออกจากทางร่วม หรือคนเดินเท้าในทางข้ามที่ขวางหน้าผ่านไปก่อน เห็นปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไป

 เส้นทแยงสำหรับทางแยก

17. เส้นทแยงสำหรับทางแยก (เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลากทแยงตัดกันทำมุม 45 องศา ห่างกัน 200 เซนติเมตร ภายในกรองเส้นทึบสีเหลือง ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร )

ความหมาย เป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงมุม ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยงนี้

เครื่องหมายจราจร ประเภท เครื่องหมายลูกศรบนพื้น 

ลูกศรตรงไป

1. ลูกศรตรงไป

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไป ห้ามขับเลี้ยวซ้าย หรือขวา

ลูกศรเลี้ยวซ้าย

 2. ลูกศรเลี้ยวซ้าย

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับเลี้ยวซ้าย ห้ามขับตรงไปหรือเลี้ยวขวา

ลูกศรเลี้ยวขวา

3. ลูกศรเลี้ยวขวา

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับเลี้ยวขวา ห้ามขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย

ลูกศรเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา

4. ลูกศรเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องเลี้ยวขับซ้ายหรือเลี้ยวขวา ห้ามขับตรงไป

ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวซ้าย

 5. ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวซ้าย

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย ห้ามขับเลี้ยวไปทางขวา

ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวขวา 

          6. ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวขวา

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวขวา ห้ามขับเลี้ยวไปทางซ้าย

ลูกศรตรงไปและเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา

7. ลูกศรตรงไปและเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

ลูกศรเลี้ยวกลับ

 8. ลูกศรเลี้ยวกลับ

ความหมาย ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องกลับรถไปใช้ช่องทางในทิศทางจราจรตรงข้าม ห้ามขับตรงหรือเลี้ยวซ้าย (ต้องดูความปลอดภัยในรถที่สวนมาทางจราจรตรงข้ามเมื่อปลอดภัยจึงกลับรถได้)

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ https://blogs.peeramotosports.co.th/เครื่องหมาย-และสัญญาณจราจรที่ชาวไบค์เกอร์ควรรู้ นี้ด้วยครับที่ได้นำข้อมูลมาแบ่งปันให้กับเรา